เมนู

อุบัติให้สำเร็จเรียบร้อย ตามพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลเอก
เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก
เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย, บุคคลเอก คือบุคคลชนิดไหน คือพระตถาคตอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า,* ด้วยคำระบุหลัง แสดงความอยู่สมควรแก่สถานที่เสด็จอุบัติ.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติในป่าเท่านั้น ด้วยความอุบัติทั้งที่เป็น
โลกิยะและโลกุตระ คือ ครั้งแรกที่ลุมพินีวัน ครั้งที่สองที่โพธิ์มณฑล ด้วย
เหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงแสดงที่อยู่ ของพระองค์ ในป่าทั้งนั้น.

[อธิบายคำว่า มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ]


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ นี้ต่อไป
บทว่า มหตา มีความว่า ใหญ่ด้วยความเป็นผู้มีคุณใหญ่บ้าง ใหญ่ด้วยความ
เป็นผู้มีจำนวนมากบ้าง. จริงอยู่ ภิกษุสงฆ์นั้น ได้เป็นใหญ่ด้วยคุณทั้งหลาย
บ้าง เพระเหตุว่า ภิกษุผู้มีคุณล้าหลัง ในภิกษุสงฆ์นั้น ได้เป็นพระโสดาบัน
บุคคล ได้เป็นใหญ่ด้วยจำนวนบ้าง เพราะมีจำนวนห้าร้อย. หมู่แห่งภิกษุ
ทั้งหลาย ชื่อว่าภิกษุสงฆ์. ด้วยภิกษุสงฆ์นั้น. อธิบายว่า ด้วยหมู่สมณะผู้
ทัดเทียมกันด้วยคุณ กล่าวคือความเป็นผู้มีทิฏฐิและศีลเสมอกัน. บทว่า สทฺธึ
คือโดยความเป็นพวกเดียวกัน. คำว่า ปญฺจมตฺเตหิ ภิกฺขุสเตหิ มีวิเคราะห์ว่า
จำนวน 5 เป็นประมาณของภิกษุเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปัญจมัตตา.
ประมาณท่านเรียกว่า มัตตา. เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความแม้ใน
บาลีประเทศนี้อย่างนี้ว่า ร้อยแห่งภิกษุเหล่านี้ มีจำนวน 5 คือมีประมาณ 5
เหมือนอย่างเมื่อท่านกล่าวว่า โภชเน มตฺตญฺญู ย่อมมีอรรถว่า รู้จำนวน
* องฺ. ติก. 20/28.

คือรู้จักประมาณในโภชนะฉะนั้น. ร้อยแห่งภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ภิกฺขุสตานิ.
ด้วยร้อยแห่งภิกษุ ซึ่งมีประมาณห้าเหล่านั้น. ในคำที่พระเถระกล่าวว่า มหตา
ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธึ
นี้ เป็นอันท่านแสดงความที่ภิกษุสงฆ์ใหญ่นั้น เป็น
ผู้ใหญ่ด้วยจำนวน ด้วยคำว่า ปณฺจมตฺเตหิ ภิกขุสเตหิ นี้. ส่วนความที่
ภิกษุสงฆ์นั้น เป็นผู้ใหญ่ด้วยคุณ จักมีแจ้งข้างหน้าด้วยคำว่า ดูก่อนสารีบุตร !
ก็ภิกษุสงฆ์ไม่มีเลี้ยงหนามหมดโทษปราศจากความด่างดำ หมดจดดี ตั้งอยู่
แล้วในธรรมอันเป็นสาระ, เพราะว่าบรรดาภิกษุ 500 รูปเหล่านี้ ภิกษุผู้ที่มี
คุณล้าหลัง ก็ได้เป็นพระโสดาบันบุคคล ดังนี้.

[อธิบายคำว่า อสฺโสสิ โข เป็นต้น]


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อสฺโสสิ โข เวรญฺโช พฺราหฺมโณ
ดังต่อไปนี้ : -
บทว่า อสฺโสสิ ความว่า ฟัง คือ ได้ฟัง ได้แก่ ได้ทราบตาม
ทำนองแห่งเสียงขอคำพูดที่ถึงโสตทวาร. ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาตลงในอรรถ
เพียงทำบทให้เต็ม หรือลงในอรรถแห่งอวธารณะ. บรรดาอรรถทั้งสองนั้น
ด้วยอรรถแห่งอวธารณะ พึงทราบใจความดังนี้ว่า ได้ฟังจริง ๆ อันตราย
แห่งการฟังอะไร ๆ มิได้มีแก่พราหมณ์นั้น. ด้วยอรรถว่าทำบทให้เต็ม พึง
ทราบว่า เป็นเพียงความสละสลวยแห่งบทและพยัญชนะเท่านั้น. พราหมณ์
ผู้เกิดในเมืองเวรัญชา ชื่อว่าเวรัญชะ. พราหมณ์มีในเมืองเวรัญชา ชื่อว่า
เวรัญชะ. อีกอย่างหนึ่ง เมืองเวรัญชาเป็นที่อยู่ของพราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น
พราหมณ์นั้น จึงชื่อว่า เวรัญชะ แต่ว่าพราหมณ์นี้ ชาวเมืองเรียกว่า อุทัย
ด้วยอำนาจชื่อที่มารดาบิดาตั้งให้. ผู้ใดย่อมสาธยายพระเวท อธิบายว่า สาธยาย